โบราณสถานที่สำคัญ


   เวียงท่ากาน ลักษณะโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 460 x 740 เมตร ความกว้างของคูน้ำประมาณ 8 เมตร สภาพคูน้ำคันดินล้อมรอบเป็นเขตเมืองนั้นยังมีสภาพตื้นเขิน เหลือสภาพแนวคูน้ำคันดินให้เห็น 3 ด้าน บริเวณรอบเมืองโบราณมีสภาพเป็นเนินสูงกว่าที่นาโดยรอบ
      DSCF1320

ในจุดบริเวณดังกล่าวที่เห็นกันในภาพ คือจุดศูนย์กลางของเวียงท่ากาน ซึ่งก็คือ วัดกลางเมือง (หรือวัดกลางเวียง) ตรงจุดนี้จะมีวัดกลางเมืองอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม คือ
  วัดกลางเมืองกลุ่มที่1 ตั้งอยู่ทางทิศเหนือมีแนวกำแพงล้อมรอบประกอบด้วยเจดีย์ทรงระฆังฐานแปด เหลี่ยมอยู่ด้านหลังวิหารในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตกห่างกันประมาณ๔เมตร ภายใน  แนวกำแพงเข้าด้านหน้ามีซุ้มประตูโขงเจดีย์เป็นแบบหริภุญไชยและ ล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 22DSCF1325

  
   วัดกลางเมืองกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่มีเนื้อที่น้อยที่สุดโดยใช้แนวกำแพงร่วมกับกลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยฐานวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออกผนังด้านหลังวิหารเชื่อม ติดกลับล้านประทักษิณของเจดีย์ประธานเป็นระฆังฐานสี่เหลี่ยมกลุ่มอาคารด้าน ทิศตะวันออกหลังเจดีย์ประกอบด้วยฐานของศาลาโถง 2 หลัง และบ่อน้ำ
 DSCF1321

วัดกลางเมืองกลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยโบราณสถาน 7 แห่งล้อมรอบด้วยกำแพง โดยกำแพงด้านทิศตะวันออกเชื่อมกับกำแพงกลุ่มที่ 2 และใช้กำแพงด้านทิศเหนือ ร่วมกัน มีซุ้มประตูโขงเป็นประตูทางเข้าอยู่ด้านหน้าDSCF1327


ในส่วนหลักฐานอันสำคัญที่ค้นพบ ซึ่งเป็นศิลปวัตถุตามบริเวณเจดีย์นั้น ส่วนใหญ่เป็นพระพิมพ์ดินเผา ที่เรียกชื่อว่า พระแผง (หรือกำแพงห้าร้อย) พระสาม พระสิบสอง พระบัวเข็ม พระคง พระเลี่ยงหลวง พระสามใบโพธิ์ พระร่มโพธิ์ ซึ่งเป็นวัตถุที่มีรูปลักษณะศิลปกรรมของสมัยหริภุญไชย นอกจากนี้ก็พบมูยาสูบ(กล้องยาสูบ) ตุ้มตาชั่งสัมฤทธิ์ ตุ้มแห ชามเวียงกาหลง คอสิงห์ดินเผา ศิลปวัตถุที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ โถลายครามจีนสมัยปลายราชวงศ์หยวน ขนาดสูงประมาณ 38เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางตรงกลางโถประมาณ 32 เซนติเมตร เส้นรอบวงประมาณ 106 เซนติเมตร มีหูเล็ก ๆ เป็นรูปมังกรDSCF1329