ประวัติและความเป็นมาของเวียงท่ากาน


แหล่งโบราณคดีเวียงท่ากาน ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วพบว่า ชาวบ้านในเวียงท่ากานให้ความสนใจต่อการ มีอยู่ของโบราณสถาน ถึงขั้นนำเสนอให้กรมศิลปากรเข้ามาดูแล

ทิศเหนือ  ติดกับบ้านพระเจ้าทองทิพย์
ทิศใต้  ติดกับบ้านสันกะวาน
ทิศตะวันออก  ติดกับบ้านหนองข่อย
ทิศตะวันตก  ติดกับบ้าต้นกอก และบ้านต้นแหนหลวง

        การเดินทางจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด เป็นระยะทางประมาณ 34 ก.ม. จนถึงทางแยกเข้าบ้านท่ากานบริเวณปากท่างบ้านทุ้งเสี้ยว เป็นระยะทางเข้าไปประมาณ 2 ก.ม. โดยผ่านพื้นที่บ้านต้นกอกสภา เมืองเก่าเวียงท่ากานมีลักษณะเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว และมีกำแพงดินหรือคันดินล้อมรอบ 2 ชั้นปัจจุบันเหลือแนวคูน้ำ คันดินให้เห็น 3 ด้านยกเว้นด้านทิศใต้    ตัวเมืองโบราณมีสภาพเป็นเนินสูงพื้นโดยราบเป็นที่ราบลุ่มห่างจากลำน้ำปิงประมาณ 3 ก.ม.   ทางทิศตะวันออกมีลำน้ำแม่ขานไหลผ่านห่างจากตัวเมือง เวียงท่ากานประมาณ 2 ก.ม.    นอกจากนี้ยังมีลำเหมือง(ลำห้วย) สายเล็กๆ  ชักน้ำจากน้ำแม่ขานมายังคูเมืองทางทิศใต้และยังมีลำเหมืองขนาดเล็ก ชักน้ำเข้ามาใช้ภายในเมืองทางทิศตะวันออก ซึ่งสันนิษฐานว่าคงเป็นระบบ ชลประทาน ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยโบราณ
สภาพภายใต้ในตัวเมืองเดิมเป็นป่าทึบต่อมามีการโค่นต้นไม้ใหญ่หักล้าง พื้นถ่างโพรงเพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัยพื้นที่บริเวณชายเนินที่เป็นที่นาทั้งหมด   ปัจจุบับบ้านเรือยราษฎรส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในตัวเมืองชาวบ้านท่ากานส่วนใหญ ่เป็นพวกชาวยองที่อพยพเข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวีละปกครองเมือง เชียงใหม่คนส่วนใหญ่พูดภาษายอง
       คำว่า ท่ากานชาวบ้านเล่าว่ามาจากคำว่า ต๊ะก๋า”  ในตำนานเล่าว่า เมื่อก่อน นี้มีกาเผือกตัวใหญ่จะบินลงที่นี้ชาวบ้านกลัวว่าเมืองบินลงจะทำ ให้เกิดความเดือดร้อนในหมู่บ้านจึงพากันไล่กาหรือต๊ะก๋าไม่ให้มาลงก็เลย เรียกต่อกันมาว่าบ้านต๊ะก๋า ต่อมาเมือประมาณพ.ศ.2450 จ้าอาวาสวัด ท่ากานได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบ้านท่ากาน เนื่องจากคำว่าบ้านต๊ะก๋าไม่เป็น ภาษาเขียน
จากหลักฐานทางด้านเอกสารและตำนานหลายฉบับ เช่นตำนานมูลศาสนา พงศาวดารโยนกและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวโดยร่วมได้ว่า เมืองท่ากาน  เป็นเมืองที่มีประวัติเกี่ยวกับนิยายปรัมปราทางพุทธศาสนากล่าวถึงพระพุทธ เจ้า ว่าเคยเสด็จมาที่เมืองนี้  เมื่อมาถึงยุคล้านนา
และจากการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี  ได้พบโบราณวัตถุศิลปกรรมแบบหริภุญไชยจำนวนมาก  เช่น  พระพิมพ์ดินเผาแบบต่าง ๆ  พระพุทธรูปดินเผา   เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า  ชุมชนแห่งนี้นับถือพุทธศาสนามาตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 1718  ส่วนโบราณสถานที่พบ  ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาที่กำหนดอายุสมัยระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 แสดงถึงการอยู่อาศัยสืบเนื่องกันมาโดยตลอด  แม้ในสมัยที่อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า  ภายหลังที่เชียงใหม่พ่ายแพ้แก่พระเจ้าบุเรงนอง  ในปี พ.ศ. 2101
เวียงท่ากาน ปรากฏชื่อใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า เวียงพันนาทะการคงจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญเมืองหนึ่ง เนื่องจากพญามังราย (พ.ศ. 1804-1854)โปรดให้นำต้นโพธิ์ที่นำมาจากลังกาทวีปหนึ่งต้นในจำนวนสี่ต้น  มาปลูกที่เมืองเวียงพันนาทะการ  เวียงท่ากานเป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครองภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารเพราะเป็น  ถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ชื่อของเวียงท่ากานปรากฏในเอกสารโบราณเกี่ยวกับเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกนาถกล่าวว่าพระองคได้เสด็จยกทัพ ไปตีเมืองเงี้ยวและได้นำเฉลยเงี้ยวไปอยู่ที่เวียงท่าการเมืองเงี้ยวไปอยู่ที่เวียงพันนาทะการคงจะหมายความว่าในช่วงนี้เวียงพันนาทะการมีฐานเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่   เพราะคำว่าพันนาในภาษาไทยเหนือหมายถึงตำบล
หลังจากพม่าเข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้ในสมัยพระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง  เวียงท่ากานที่ตกอยู่ในอำนาจของพม่าเช่นกันต่อมาทาง เชียงใหม่ร้างไปประมาณ 20 ปีเศษ คือในช่วงระหว่าง (พ.ศ.2318-2339) เวียงท่ากานก็คงจะร้างไปด้วย จนถึงช่วงปี พ.ศ.2339  พระเจ้ากาวิละทรงตี เมืองเชียงใหม่คืนจากพม่าได้จึงกวาดต้อนพวกไทยยองเข้ามาอยู่จนตราบ เท่าทุกวันนี้ ประชากรบ้านท่ากาน ส่วนใหญ่เชื้อสายไทลื้อ  ที่เรียกตัวเองว่า ชาวยอง”  เนื่องจากอพยพมาจากเมืองยองในพม่า  เข้ามาอาศัยในบริเวณเวียงท่ากาน  เป็นระยะเวลากว่า  200 ปี  เป็นชุมชนที่รักท้องถิ่น  รักษาวัฒนธรรมประเพณีอย่างเคร่งครัด  เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งที่อยู่อาศัยและของดีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งมีอยู่ในพื้นที่  จึงรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ในการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม  จนได้รับโล่พระราชทานจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  ในฐานะผู้สนับสนุนการอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี  พ.ศ. 2531  เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย


      ชาวบ้านในเวียงท่ากานให้ความสนใจต่อการ มีอยู่ของโบราณสถาน ถึงขั้นนำเสนอให้กรมศิลปากรเข้ามาดูแล  และยังไม่เพียงเท่านั้น พวกเรานักท่องเที่ยวทุกคนก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการ อนุรักษ์ได้เช่นกัน  และแน่นอนว่า พวกเขายินดียิ่งที่จะมี คนอื่นมาช่วยกันดูแล ไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่หรือนักวิชาการทางโบราณคดีเท่านั้น
                                          ta2
                                     ta4
โบราณสถานภายในเวียงท่ากานที่สำคัญ
1.  วัดกลางเมือง                7.  วัดหนองหล่ม
2.  วัดอุโบสถ                    8.  วัดน้อย
3.  วัดต้นโพธิ์                    9.  วัดป่าเป้า
4.  วัดหัวข่วง                   10.  วัดป่าไผ่รวก
5.  วัดพระเจ้าก่ำ               11.  กู่ไม้แดง
6.  วัดต้นกอก

     ส่วนโบราณวัตถุที่ค้นพบที่ เวียงท่ากาน แห่งนี้  มีมากมายพระเจ้าหลานเธอ    พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์  มีพระดำริที่จะจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เวียงท่ากาน ขึ้น  เพื่อเก็บรวบรวมโบราณวัตถุอันมีค่าเหล่านี้  และเปิดให้ประชาชนเข้าชม

การเดินทาง
เวียงท่ากาน ตั้งอยู่ที่บ้านท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จากเชียงใหม่ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ไปประมาณ 25 กิโลเมตร ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง ถึงแยกทุ่งเสี้ยวให้เลี้ยวซ้าย ขับตรงเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึงศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวเวียงท่ากาน


สำหรับแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ เปิดให้เข้าชมทุกวัน จะขับรถชมวัดร้างต่างๆ เองก็ได้ แต่จะไม่ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนมากพอ แนะนำให้ติดต่อมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และรถรางนำชม ค่าบริการ 500 บาทต่อเที่ยว ส่วนนี้รวมค่าบริการมัคคุเทศก์ ค่าบริการรถราง ส่วนที่เหลือจะเก็บไว้เป็นค่าซ่อมบำรุงพาหนะ สนใจสอบถามรายละเอียดที่ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5321 9091-2, 0 5322 1047